Call Us: 02-047-7278,091-803-0578

TREATMENTS...จัดฟัน (Orthodontics)


ทันตกรรมจัดฟัน(Orthodontics)

การจัดฟัน เป็นการรักษาทางทันตกรรมแขนงหนึ่ง ซึ่งรักษาเกี่ยวกับการแก้ไขการเรียงตัวของฟัน เช่น ฟันซ้อนเก ฟันยื่น ฟันห่าง ฟันล่างคร่อมฟันบน เป็นต้น และนอกจากการแก้ไขการเรียงตัวของฟันแล้ว การจัดฟันก็สามารถช่วยแก้ไข หรือปรับปรุงระบบการบดเคี้ยวของคุณให้เป็นปกติอีกด้วย ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการจัดฟัน ควรจะทำภายใต้การรักษาของทันตแพทย์เฉพาะสาขาวิชาจัดฟัน เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ออกมาภายหลังจัดฟันนั้นดีที่สุด
ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาวิชาจัดฟัน จะเป็นผู้วินิจฉัย และวางแผนการรักษา ว่าผู้ป่วยควรจัดฟันหรือไม่ ถ้าควรจัดฟันควรจัดด้วยวิธีไหน ซึ่งการวิเคราะห์วินิจฉัยของทันตแพทย์ จะประกอบไปด้วยหลายขั้นตอนด้วยกัน คือ

  • ซักประวัติการรักษาทางการแพทย์ และทันตกรรม
  •  พิมพ์โมเดลฟันบนและล่าง
  • เอ็กซเรย์ฟัน โครงสร้างกระดูกขากรรไกร และใบหน้า
  • ถ่ายภาพฟัน และการสบฟัน
     

ข้อบ่งชี้ของผู้ที่ควรเข้ารับการรักษาจัดฟัน
ผู้ที่มีฟันบนยื่นออกมาข้างหน้ามาก, ผู้ที่มีการสบฟันแบบฟันล่างคร่อมฟันบน, ฟันห่าง, ฟันซ้อนเก, ฟันสบเปิด หมายถึงเมื่อสบฟันแล้ว พบว่ามีช่องว่างเปิดระหว่างฟันบนกับฟันล่าง
ฟันสบลึก หมายถึงเมื่อสบฟันแล้ว พบว่ามีการสบฟันที่ลึกมากกว่าปกติระหว่างฟันบน และฟันล่าง
ในบางคน หลังจากที่ทันตแทพย์จัดฟันได้ทำการตรวจ และวางแผนการรักษาเรียบร้อยแล้ว อาจต้องได้รับการรักษาทางทันตกรรมอย่างอื่นก่อนทำการจัดฟัน เช่น การอุดฟัน การขูดหินปูน การรักษาโรงเหงือกอักเสบ การถอนฟัน หรือการผ่าฟันคุด
ในกรณีที่ทันตแทพย์จัดฟันจะพิจารณาว่าควรถอนฟันหรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับลักษณะของความผิดปกติของคนไข้ ว่าจำเป็นจะต้องถอนฟันหรือไม่ ถ้าต้องถอนฟัน จะต้องถอนกี่ซี และจะต้องถอนซี่ใดบ้าง ซึ่งแต่ละบุคคลการวางแผนการักษาตรงจุดนี้ก็จะแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงไม่ใช่ผู้ป่วยทุกรายที่จะต้องถอนฟันก่อนจัดฟันเสมอไป โดยทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน จะต้องนำข้อมูลจากการตรวจหลายๆขั้นตอน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นมาพิจารณาในละเอียดถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจวางแผนการรักษา
 

ขั้นตอนการจัดฟัน
พบทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาวิชาจัดฟัน เพื่อปรึกษาปัญหา ตรวจวิเคราะห์ และวางแผนในการรักษา
ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์แบบฟัน เพื่อบันทึกรายละเอียด ตรวจสภาพฟันโดยทั่วไป การสบฟัน และเอ็กซเรย์ฟันเพื่อดูโครงสร้างของกระดูกขากรรไกร และใบหน้า

ตรวจสุขภาพฟันโดยทั่วไปของฟันทุกซี่ และสภาพของเหงือกทั่วไป เพื่อทำการวางแผนการรักษาว่า ต้องทำการรักษาอะไรบ้างก่อนที่จะสามารถติดเครื่องมือจัดฟันได้ เช่น ถอนฟัน อุดฟัน รักษาโรคเหงือก รักษารากฟัน ผ่าฟันคุด เป็นต้น
รับทราบรายละเอียดคำแนะนำ และข้อควรปฏิบัติต่าง ๆ ในการจัดฟันกับทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน
โดยปกติแล้วการจัดฟันจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี แต่ในบางรายอาจใช้เวลานานมากกว่า หรือน้อยกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความผิดปกติของฟัน และการสบฟันว่ามีมากน้อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้จัดฟันด้วยเป็นสำคัญ ว่าสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์จัดฟันได้อย่างเคร่งครัดเพียงใด และผู้จัดฟันสามารถพบทันตแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอหรือไม่ ซึ่งในช่วงที่ติดเครื่องมือจัดฟัน ทันตแพทย์จะทำการนัดทุก 1 เดือน เพื่อปรับเครื่องมือ และตรวจประเมินผลการรักษาเป็นระยะๆ

ข้อควรปฎิบัติขณะติดเครื่องมือจัดฟัน
ระหว่างทำการจัดฟัน ผู้ป่วยควรดูแลทำความสะอาดฟัน และช่องปากให้ดีอย่างสม่ำเสมอ และควรใช้แปรงสีฟันสำหรับจัดฟันโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ติดเครื่องมือจัดฟัน เนื่องจากฟันที่ถูกติดเครื่องมือหรืออุปกรณ์จะทำความสะอาดได้ยากกว่าเดิม เพราะอาจมีเศษอาหารเข้าไปติดตามซอกฟัน หรือระหว่างฟันกับเครื่องมือจัดฟันได้ง่าย และนอกจากการแปรงฟันแล้ว ยังมีอุปกรณ์เสริมช่วยในการทำความสะอาดช่องปากและฟันสำหรับผู้จัดฟัน เช่น แปรงซอกฟัน ไหมขัดฟัน superfloss ซึ่งทันตแทพย์จัดฟันจะเป็นผู้แนะนำในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ภายหลังจากที่ได้ทำการติดเครื่องมือจัดฟันให้กับคนไข้

นอกจากนี้หลังจากที่ติดเครื่องมือจัดฟันไปแล้ว ควรงดรับประทานอาหารบางประเภท เช่น อาหารเหนียว เช่นหมากฝรั่ง อาหารแข็ง รวมไปถึงอาหารประเภทของหวาน เพราะอาจทำให้ฟันผุ และเป็นโรคเหงือกอักเสบได้ง่าย
ขั้นตอนในการจัดฟันมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ดังนี้

  1.  ปรึกษาจัดฟัน จัดฟันวันแรก คุณหมอจัดฟันจะตรวจรูปหน้า โครงสร้างกระดูกขากรรไกร และฟัน คุณหมอจะแจ้งแผนการรักษาคร่าว ๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษา
  2. พิมพ์ฟัน และ x-ray ได้แก่ Panoramic, Lateral cephalometric, หรือ PA cephalometric (ถ้าจำเป็น) เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการวินิจฉัย
  3. การเคลียร์ช่องปาก ได้แก่ การอุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด เป็นต้น
  4. ติดเครื่องมือ และปรับเครื่องมือ ทุก ๆ 1-2 เดือน ตามประเภทเครื่องมือจัดฟัน
  5. การดูแลสุขภาพช่องปากระหว่างการจัดฟัน เช่น การขูดหินปูน ทุก ๆ 3-6 เดือน
  6. การถอดเครื่องมือ และใส่รีเทนเนอร์
  7. ติดตามการใส่รีเทนเนอร์ทุก ๆ 1 เดือน, 3 เดือน 6 เดือน และทุก ๆ 1 ปี