Call Us: 02-047-7278,091-803-0578

TREATMENTS... ทันตกรรมปริทันต์ หรือ การรักษาโรคเหงือก (Periodontal Disease)


โรคปริทันต์
โรคปริทันต์ หรือเรียกว่า โรคเหงือกอักเสบ แต่จริงๆแล้ว โรคปริทันต์ มิได้มีการอักเสบเกิดขึ้นแค่ที่เหงือกเท่านั้น แต่เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับอวัยวะรอบ ๆ ฟัน อันได้แก่ เหงือก กระดูกเบ้าฟัน เอ็นยึดปริทันต์ และ ผิวรากฟัน

โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis)
โรคเหงือกอักเสบ เป็นอาการอักเสบของเหงือกซึ่งเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ ผลข้างเคียงของการรับประทานยาบางชนิด และการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เป็นต้น

โรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ (Periodontitis)

โรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ หรือ โรคปริทันต์อักเสบ มักก่อให้เกิดการละลายของรากฟัน เป็นสาเหตุของอาการฟันโยกและอาจต้องถอนฟันทิ้งไปในที่สุด และยังเป็นสาเหตุของกลิ่นปากอีกด้วย
 

สาเหตุของโรคปริทันต์
สาเหตุเบื้องต้น คือ เชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่มีอยู่ในช่องปากซึ่งเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นในสภาวะที่เหมาะสม กล่าวคือการมีคราบอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่เกาะบนผิวฟัน และจากการทำความสะอาดฟันไม่ดีพอ ทำให้คราบอาหารเหล่านี้กลายเป็นอาหารของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นแพร่กระจายไปบนผิวฟัน แบคทีเรียพวกนี้เมื่อมีการบริโภคอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลเข้าไปจะปล่อยกรดและสารพิษออกมาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ผลคือทำให้เหงือกบวมแดงอักเสบและมีเลือดออก ทำให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ แผ่นคราบจุลินทรีย์ไม่เพียงแต่จะมีแค่ส่วนตัวฟันที่อยู่เหนือขอบเหงือกเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในส่วนใต้ขอบเหงือกที่เรามองไม่เห็น ส่วนนี้เองที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์ลงสู่กระดูกเบ้าฟัน ผลคือทำให้กระดูกเบ้าฟันละลาย ทำให้ร่องเหงือกลึกลงไปเรื่อยๆ ทำให้ฟันไม่ยึดติดกับเหงือกและก่อให้เกิดหนองในร่องปริทันต์ ทำให้รู้สึกเจ็บเหงือกและอาจมีอาการปวดเมื่อเคาะที่ตัวฟันและฟันโยกได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้เหงือกและกระดูกเบ้าฟันจะถูกทำลายลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็อาจจะต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป เนื่องจากสูญเสียอวัยวะรอบฟันที่ช่วยในการยึดเกาะฟันไว้กับกระดูกขากรรไกร
 

อาการบ่งชี้ว่าเป็นโรคปริทันต์

  1. มีเลือดออกตามไรฟันขณะแปรงฟัน
  2. มีกลิ่นปาก
  3. เหงือกบวมแดง
  4. เหงือกร่น
  5. อาจมีหนองออกตามร่องเหงือก
  6. ฟันโยก
     

ขั้นตอนการรักษา

  1. ทันตแพทย์จะรักษาโดยการขูดหินปูน และเกลารากฟัน (root planing) ร่วมด้วย โดยจะขูดหินปูนทั้งบน ตัวฟันและส่วนที่อยู่บนผิวรากฟันภายในร่องปริทันต์ ส่วนการเกลารากฟันคือการทำให้ผิวรากฟัน เรียบเพื่อให้เนื้อเยื่อเหงือกสามารถกลับมายึดแน่นติดกับผิวฟันได้เหมือนเดิม ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้อง ทำซ้ำหลายๆครั้ง
  2. หลังจากรักษาเสร็จแล้วประมาณ 4-6 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะเรียกกลับมาดูอาการอีกครั้งว่า ถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์เหลืออยู่หรือมีการละลายของกระดูกไปมาก อาจจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัด ร่วมด้วย
  3. ผู้ทำการรักษาต้องทำความสะอาดฟันและซอกฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอด้วยตนเอง ใช้แปรงและไหมขัดฟันทุกวัน เพื่อที่จะกำจัดคราบจุลินทรีย์ให้หมดทุกวัน
  4. พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจดูว่ามีคราบจุลินทรีย์และหินปูนหลงเหลือจากการทำความ สะอาดเองหรือไม่ เพื่อที่จะได้รับการรักษาในระยะแรก