Call Us: 02-047-7278,091-803-0578

TREATMENTS...ทันตกรรมสำหรับเด็ก (Pediatric Dentistry)


ทันตกรรมสำหรับเด็ก (Pediatric Dentistry)
การพาเด็กไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจฟันเป็นประจำ จะมีข้อดีคือ หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในช่องปาก หรือฟัน ก็จะได้ทำการรักษาฟันเด็กได้อย่างทันท่วงที ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นกับเหงือกและฟันของเด็กก็คือ การดูแลรักษาความสะอาดเหงือกและฟันให้ถูกวิธี

การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องรอ ว่าเมื่อไรฟันซี่แรกของเด็กจะขึ้นแล้วค่อยทำความสะอาด เพราะความจริงแล้วสามารถเริ่มทำความสะอาดได้ตั้งแต่แรก ซึ่งถ้าไม่มั่นใจก็สามารถเรียนรู้ หรือสอบถามได้จากการปรึกษาทันตแพทย์ และควรแนะนำให้ลูกรู้จักการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงพวกขนมขดเคี้ยว น้ำหวาน เนื่องจากจะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดฟันผุได้ง่าย

แนวทางปฏิบัติในการดูแลฟันของเด็ก

  • คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นตรวจฟันลูกด้วยตนเองเป็นประจำ
  • เลิกนมมื้อดึกเมื่อลูกอายุประมาณ 6 เดือน และหลีกเลี่ยงการดูดนมหลับคาขวด และเลิกใช้ขวดนมเมื่อลูกอายุประมาณ 18 เดือน
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงขนมหวานเหนียวติดฟัน ขนมกรุบกรอบที่มีส่วนผสมของแป้ง และลดจำนวนครั้งที่รับประทาน โดยให้รับประทานในมื้ออาหาร
  • หลังรับประทานอาหาร หากเป็นเด็กเล็กๆ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือยังไม่ถึงสองขวบ ให้คุณพ่อคุณแม่ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเพื่อนำไปเช็ดฟัน และกระพุ้งแก้มให้เด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้าและก่อนนอน
  • เมื่อเด็กมีฟันเริ่มขึ้นหลายซี่แล้ว ควรแปรงฟันให้เด็กด้วยแปรงสีฟันสำหรับเด็กที่มีขนอ่อนนุ่ม หรือสอนเด็กแปรงฟันด้วยตนเอง โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องแปรงซ้ำจนกว่าเด็กอายุประมาณ 6-7 ขวบ เพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถใช้กล้ามเนื้อมือได้อย่างเต็มที่ 
  • ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งตอนเช้าและเย็น ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
  • หากพบว่าเด็กมีฟันสีขุ่นขาวหรือเปลี่ยนเป็นสีดำ หรือมีรูที่คาดว่าน่าจะเป็นฟันผุ ควรรีบพาเด็กเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปา
  • ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ทุก 4 - 6 เดือน


ปริมาณยาสีฟันที่สำหรับในแต่ละช่วงวัย

อายุ 6เดือน-1ขวบครึ่ง ปริมาณยาสีฟันแตะพอชื้น
อายุ 1ขวบครึ่ง-3ขวบ ปริมาณยาสีฟันเท่าเมล็ดถั่วเขียว
อายุ3ขวบ-6ขวบ ปริมาณยาสีฟันเท่าเมล็ดข้าวโพด
อายุ6ขวบขึ้นไป ปริมาณยาสีฟันครึ่งเซนติเมตร

การเคลือบฟลูออไรด์
ฟลูออไรด์เป็นตัวช่วยให้ฟันแข็งแรงและมีคามต้านทานต่อการเกิดฟันผุได้ดี การใช้ฟูลออไรด์นั้น มีทั้งชนิดรับประทานและเคลือบที่ผิวฟัน แต่ต้องใช้ในปริมาณเหมาะสมถูกต้องตามอายุ การเคลือบฟลูออไรด์สามารถทำได้ทั้งในฟันน้ำนมและฟันถาวร ดังนั้น ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อการรับฟลูออไรด์ที่เหมาะสมในเด็กแต่ละวัย